เกร็ดความรู้
*** เน้นงานซ่อมโดยเฉพาะ 02-9264-0423 และ 08-3275-8442 และ 08-4146-7458 ***
วิธีการใช้แอร์อย่างประหยัด
1. ปิดสวิตซ์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง
2. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5
3. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ห้องเกิน 1 ชั่วโมง สำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5
4. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
5. ตั้งอุณหภูมิปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังสบาย อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศา ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10
6. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงาน จากการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร
7. ใช้มู่ลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร และบุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและฝาผนัง เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป
8. หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ ติดตั้ง และใช้อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดประตู ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
9. ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตูช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ
10. ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย และใช้พลังงานในการปรับอากาศภายใจอาคาร
เลือกดูแอร์คุณภาพราคาประหยัด
1. ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มียี่ห้อที่เชื่อถือได้ เพราะแอร์โนเนม ส่วนใหญ่จะมี Btu/h น้อยกว่าที่บอกไว้ (ภาษาช่างแอร์เรียกว่า ไม่เต็ม บีทียู) มีข้อมูลจากห้องแลปที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งสุ่มทดสอบเครื่องปรับอากาศหลายยี่ห้อ พบว่าแอร์โนเนมส่วนใหญ่มี Btu/h ประมาณ 70-80% ของที่โฆษณาไว้ (การเรียกขนาดทำความเย็นที่ถูกต้องคือ บีทียู ต่อ ชั่วโมง หรือ Btu/h แต่ช่างแอร์ชอบเรียกกันย่อๆแค่ บีทียู ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ก็เป็นที่เข้าใจกัน) นอกจากจะไม่เต็มบีทียูแล้ว แอร์โนเนมยังมีเสียงดัง และเสียเร็วอีกด้วย
2. เครื่องแอร์แบบติดผนัง จะมีเสียงเงียบกว่าแบบตั้งพื้น/แขวนฝ้า แต่ว่าก็จะมีราคาแพงกว่า แต่อยากจะแนะนำให้ใช้ แบบติดผนัง โดยเฉพาะในห้องนอน เพราะว่าเสียงเงียบกว่ากันมาก
3. ควรเลือกใช้เทอร์โมสตัทแบบอิเลคโทรนิค เพราะควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำ ไม่สวิงไปมา แอร์รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่เทอร์โมตัท จะเป็นแบบอิเลคโทรนิกแล้ว ยกเว้นแอร์แบบตั้งพื้น/แขวนฝ้าบางรุ่งเท่านั้น ที่ยังคงให้แบบธรรมดา(แบบไบเมทอล) มีข้อสังเกตง่ายๆอีกอย่างก็คือ ถ้าแอร์มีรีโมทคอนโทรลเทอร์โมสตัทจะเป็นแบบอิเลคโทรนิกค่อนข้างจะแน่นอน
4. ไม่ต้องไปสนใจมากกับแผ่นฟอกอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ เพราะเสื่อมสภาพเร็วมากๆ และที่ให้มาก็มีขนาดเล็กมากไม่สามารถฟอกอากาศได้ตามที่โฆษณาแน่ๆ (อาจจะจับฝุ่นได้ 1000 อนุภาค จากที่วิ่งผ่านเป็นล้านอนุภาค) เป็นเพียงเครื่องมือทางการตลาดเท่านั้น นอกจากนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วๆไป ยังมักไม่ค่อยจะเปลี่ยนแผ่นฟอกอากาศด้วย ดังนั้นเมื่อใช้เครื่องไปพักเดียว ก็เหมือนกับไม่มีแผ่นฟอกอากาศอยู่แล้ว
5. ควรเลือกใช้แอร์ที่มีฉลากประหยัดไฟ จะเบอร์ 5 หรือ เบอร์ 4 ก็ได้ (ต่ำกว่าเบอร์ 4 ไม่เห็นมีขาย) หรือ ได้มาตรฐาน มอก. เพราะ เป็นเครื่องที่มีการทดสอบความสามารถการทำเย็นแล้ว (Btu/h) ซึ่งจะทำให้เราได้แอร์เต็มบีทียู (มีข่าวว่า มีการปลอมฉลากเบอร์ 5 เหมือนกัน ดังนั้นต้องดูประกอบกับยี่ห้อที่น่าเชื่อถือด้วย)
6. แอร์ที่มีขายกันอยู่มี 3 สัญชาติ คือ ไทย ญี่ปุ่น ฝรั่ง โดยแอร์ไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แอร์ที่มีมาตรฐาน กับ แอร์โนเนมไม่มีมาตรฐาน ที่จะพูดถึงแอร์ไทยต่อไปนี้จะหมายถึงแอร์ไทยที่มีมาตรฐาน (ส่วนโนเนมไม่แนะนำให้ใช้ครับ) ฝรั่งเป็นผู้ที่คิดค้นเครื่องแอร์ขึ้นมาได้ แต่มีลักษณะเทอะทะตามสไตล์ฝรั่ง ต่อมาญี่ปุ่นได้นำแอร์ฝรั่งมาพัฒนาต่อ จนกลายเป็นเครื่องที่มีขนาดเล็กและสวยงาม ส่วนพี่ไทยก็ตามมาก๊อบปี้ของญี่ปุ่นอีกที จนถึงทุกวันนี้ ผู้นำเทคโนโลยีในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ยังคงเป็นญี่ปุ่นอยู่ครับ